วันอังคารที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

มารู้จักกับนกฮูกหรือนกเค้าแมว ตอนที่3 Tytonidae วงศ์นกแสก


วงศ์นกแสก (อังกฤษBarn-owlวงศ์: Tytonidae) เป็นวงศ์ของนกล่าเหยื่อในอันดับนกเค้าแมว(Strigiformes) ใช้ชื่อวงศ์ว่า Tytonidae

นับเป็นวงศ์ของนกเค้าแมววงศ์หนึ่ง นอกเหนือจากวงศ์นกเค้าแมว (Strigidae)

มีลักษณะทั่วไป คือ มีขนาดใหญ่กว่านกในวงศ์นกเค้าแมว ใบหน้ากลมแบน มีขนสีขาวเต็มหน้า ทำให้คล้ายรูปหัวใจ ตามีสีดำ อยู่ด้านหน้า และมีขนาดเล็กกว่าวงศ์นกเค้าแมว ปากเป็นจะงอยงุ้ม สีเหลืองเทา ชมพู หลังและปีกสีน้ำตาลอ่อน มีสีน้ำตาลเทาเป็นส่วน ๆ คอ อก ท้อง สีขาว ขาวนวล มีจุดสีน้ำตาลเข้มทั่วไป ปีกยาว หางสั้น ขนปีกและหางมีลายขวางสีเหลืองสลับน้ำตาลอ่อน ขาใหญ่ มีขนคลุมขา ตีนสีชมพู นิ้วมีเล็บยาว รูปร่างลักษณะตัวผู้และตัวเมียจะคล้ายกัน โดยตัวเมียจะโตกว่าเล็กน้อย ลำตัวตั้งตรง

มีพฤติกรรมการหากินและเป็นอยู่คล้ายกับนกในวงศ์นกเค้าแมว

โดยแบ่งออกได้เป็น 2 สกุล และยังมีอีก 4 สกุล ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว

Family: Tytonidae, Subfamily: Tytoninae, Genus: Tyto
Tyto tenebricosa
Greater Sooty Owl
Tyto multipunctata
Lesser Sooty Owl
Tyto inexspectata
Minahassa Masked Owl, Minahassa Barn Owl, Sulawesi Golden Owl
Tyto nigrobrunnea
Taliabu Masked Owl, Sula Island Masked Owl
Tyto sororcula
Lesser Masked Owl, Moluccan Masked Owl
Tyto manusi
Manus Masked Owl
Tyto aurantia
New Britain Barn Owl, New Britain Masked Owl
Tyto novaehollandiae
Australian Masked Owl
Tyto castanops
Tasmanian Masked Owl
Tyto rosenbergii
Celebes Barn Owl, Sulawesi Masked Owl
Tyto soumagnei
Madagascar Red Owl, Soumagnes Grass Owl, Madagascar Grass Owl
Tyto alba
Common Barn Owl
Tyto deroepstorffi
Andaman Masked Owl, Andaman Barn Owl
Tyto glaucops
Ashy-faced Owl, Hispaniolan Barn Owl
Tyto capensis
African Grass Owl, Common Grass Owl
Tyto longimembris
Eastern Grass Owl
Tyto prigoginei
Congo Bay Owl, African Bay Owl, Itombwe Owl
Family: Tytonidae, Subfamily: Phodilinae, Genus: Phodilus
Phodilus badius
Oriental Bay Owl, Asian Bay Owl
Phodilus assimilis
Sri Lanka Bay Owl, Ceylon Bay Owl




พบกระจายพันธุ์ไปในทุกทวีปทั่วโลก ในหลายภูมิประเทศ ทั้งในป่าดิบที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเล จนถึงชุมชนเมืองของมนุษย์ สำหรับในประเทศไทย พบได้ 2 ชนิด คือ นกแสก(Tyto alba) และนกแสกแดง (Phodilus badius) ซึ่งมีขนาดเล็กกว่า และพบได้เฉพาะในป่าเท่านั้น


นกแสก หรือ นกแฝก หรือ นกเค้าหน้าลิง (อังกฤษCommon barn owl)

นกแสก มีลักษณะใบหน้าเป็นรูปหัวใจ ตาใหญ่ ตั้งอยู่ทางด้านหน้าของหัว คอสั้น ปีกยาว หางค่อนข้างสั้น ขาและนิ้วแข็งแรง มีขนปกคลุมแข้งเกือบถึงนิ้ว ปลายนิ้วเป็นกรงเล็บ โดยกรงเล็บของนิ้วที่ 3 มีลักษณะหยักคล้ายซี่หวีทางด้านขอบด้านใน ทั้ง 2 เพศมีลักษณะเหมือนกัน แต่เพศเมียจะมีขนาดใหญ่กว่าเล็กน้อย สีทางด้านล่างลำตัวและใต้ปีกเป็นสีน้ำตาลอ่อนเกือบเป็นสีขาว มีจุดลักษณะกลมรีสีน้ำตาล หรือสีเทากระจายอยู่ทั่วไป ทางด้านบนลำตัวและขนปกคลุมปีกสีเหลืองทอง มีจุดสีน้ำตาลเข้มกระจายอยู่ทั่วไปเช่นเดียวกัน บริเวณใบหน้ามีสีขาว ไม่มีจุดใด ๆ มีขนสีน้ำตาลเข้มเป็นขอบอยู่รอบนอก ม่านตาสีดำ ใบหน้าเป็นสีขาว ปากเรียว แหลม และจะงอยปากเป็นปากขอขนาดโตเต็มที่สูงประมาณ 1 ฟุต



นกแสกเป็นนกที่หากินในเวลากลางคืน โดยมากพบในถิ่นที่ใกล้กับชุมชนของมนุษย์ โดยจะอาศัยอยู่ตามสิ่งก่อสร้างที่มีความสงบ เช่น หลังคาโบสถ์ในวัดวาต่าง ๆ หรือบ้านร้าง, ซอกมุมตึกหรือโพรงไม้ จึงนับได้ว่าเป็นนกจำพวกนกเค้าแมวที่มีความใกล้ชิดกับมนุษย์มากที่สุด ในป่าพบตั้งแต่พื้นราบจนกระทั่งความสูง 1,200 เมตรจากระดับน้ำทะเล มักพบอยู่โดดเดี่ยว เป็นคู่ หรือเป็นครอบครัว ไม่ค่อยที่อยู่เป็นฝูงใหญ่ ในตอนกลางวันหากมีสิ่งรบกวนจะพยายามหลบไปหามุมมืดของแต่ละแหล่งที่อยู่อาศัยนั้น ๆ บางครั้งก็บินไปยังที่อื่น ๆ ซึ่งก็ห่างไกลพอสมควรเมื่อเห็นว่าปลอดภัยแล้วจึงจะบินกลับมายังที่เดิม ในตอนพลบค่ำหรือตอนกลางคืน นกแสกจะมีความคล่องแคล่วว่องไวพอสมควร เมื่อเทียบกับตอนกลางวัน นกแสกออกหากินในตอนกลางคืน กลับเข้ามายังที่พักอาศัยในตอนรุ่งสาง นกแสกร้องเป็นเสียงดังกังวานโดยออกเป็นเสียง "แสก-แสก" อันเป็นที่มาของชื่อ จะได้ยินเสียงร้องเฉพาะในตอนกลางคืนเท่านั้น โดยจะร้องเพื่อเตือนนกตัวอื่นมิให้เข้ามาในอาณาเขตหาอาหารของตัว นกแสกโดยเฉพาะตัวผู้จะมีอาณาเขตหาอาหารกว้างได้ถึง 40 ตารางกิโลเมตร

อาหารหลักโดยปกติจะเป็นหนู โดยนกแสกไม่ได้เป็นนกมีนิสัยก้าวร้าวดุร้ายแต่อย่างใด เมื่อโฉบเหยื่อจะบินด้วยความว่องไวและเงียบกริบ ตะครุบเหยื่อด้วยกรงเล็บที่แหลมคมและจะงอยปาก จะกลืนอาหารเข้าไปทั้งตัว แต่ไม่อาจย่อยในส่วนที่เป็นขนหรือกระดูกแข็ง ๆ ได้ ดังนั้นจึงจะสำรอกออกมาทางปากไว้ในรัง ลักษณะเป็นก้อนขน

ลักษณะก้อนขนที่นกสำรอกออกมา

นกแสกมีพฤติกรรมการขยายพันธุ์ในช่วงเดือนกันยายนถึงพฤศจิกายน โดยเดือนกันยายนเป็นช่วงที่จับคู่และเดือนตุลาคมจะเป็นช่วงของการวางไข่ ปรกติจะไม่มีการก่อสร้างรังใด ๆ แต่จะวางไข่ตามโพรงไม้ หรือตามชายคาโบสถ์ กุฏิ หรือบริเวณที่ใช้เป็นแหล่งอาศัยหลับนอนดังกล่าวแล้ว ไข่มีรูปร่างเป็นรูปไข่ค่อนข้างกลม ขนาดโดยเฉลี่ย 32.5 x 40.7มิลลิเมตร ไข่สีขาว ไม่มีจุดหรือลาย รังมีไข่ 4-7 ฟอง โดยพบ 5 ฟองมากที่สุด ตัวเมียตัวเดียวที่ทำการฟักไข่ โดยเริ่มฟักตั้งแต่ออกไข่ฟองแรก ใช้ระยะเวลาฟักไข่ทั้งสิ้น 32-34 วัน ลูกนกแสกที่ออกจากไข่ใหม่ ๆ ยังไม่ลืมตา มีขนอุยสีขาวปกคลุมลำตัวห่าง ๆ ขาและนิ้วยังไม่แข็งแรง ทั้งพ่อและแม่นกช่วยกันกกลูก และหาอาหารมาป้อน ลูกนกจะออกจากไข่ไม่พร้อมกัน ทำให้มีขนาดแตกต่างกันเล็กน้อย ลูกจะเจริญเติบโตและพัฒนาขนปกคลุมร่างกายอย่างรวดเร็ว เมื่ออายุได้ 2 สัปดาห์ ขนาดจะโตขึ้นมาก มีขนอุยสีขาวปกคลุมทั่วร่างกาย อายุ 3 สัปดาห์ เริ่มแข็งแรงพอที่จะเดินภายในรังได้ อายุ 4 สัปดาห์ มีขนแข็งปกคลุมลำตัวแทนขนอุย และเริ่มหัดบิน อายุ 5 สัปดาห์ขึ้นไปจะบินได้แข็งแรงและหากินเองได้ ในขณะที่ลูก ๆ ยังช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ พ่อแม่ช่วยกันหาอาหารมาป้อน อาหารที่นำมาป้อนนั้นพ่อแม่จะฉีกเป็นชิ้น ๆ เสียก่อน แต่เมื่อลูกนกโตพอประมาณและแข็งแรงบ้างแล้ว พ่อแม่จะนำเหยื่อทั้งตัวมาให้ ซึ่งบางครั้งเหยื่อยังมีชีวิตอยู่ ทั้งนี้ก็เพื่อฝึกให้ลูก ๆได้เรียนรู้ถึงวิธีการจับเหยื่อตั้งแต่ยังเล็กอยู่

นก2สัปดาห์

3สัปดาห์
4สัปดาห์
5สัปดาห์ (ถ่ายครั้งล่าสุด 5 กุมภา 57) นายแบบเจ้าลัคกี้ Lucky สุดเลิฟของผู้เขียนเอง อิอิ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น