วันอังคารที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

แสงแดดกับนก 3

แสงมีความสำคัญทางสายตาและการมองเห็นของนก 

มนุษย์และสัตว์ส่วนมากสามารถมองเห็นสีในลักษณะ three-color vision ที่เรียกว่า Trichromatic ซึ่งแตกต่างจากนกที่สามารถมองเห็นสีในลักษณะ four-color vision เรียกว่า Tetrachromatic โดยในการมองเห็นของนก UVA จะเป็นตัวช่วยเพิ่มสัดส่วนของการมองเห็นสีมาตรฐาน แดง ฟ้า เขียว ได้มากกว่าการมองเห็นของมนุษย์ เช่น เห็นสีแดงที่มากกว่า ฟ้ากว่าและเขียวกว่า 

แสงแดดมีส่วนช่วยลดเชื้อแบคทีเรียต่างๆที่มีอยู่บนตัวนกและการได้รับแสงอย่างเหมาะสมยังมีความสำคัญต่อพฤติกรรมในการจัดไซ้ขน ที่ส่งผลต่อผิวหนังและสุขภาพของขนนก หากนกไม่ได้รับแสงที่เพียงพอในการช่วยกระตุ้นพฤติการรมการจัดไซ้ขนนี้ การทำงานของระบบก็จะผิดปกติและล้มเหลว เนื่องจากประโยชน์ของการไซ้ขนจะช่วยให้นกขจัดคราบฝุ่นผง คราบควันต่างๆที่ติดตามขนนกออกไป และนอกจากนี้สัตวแพทย์ยังแนะนำให้นกที่มีปัญหาดึถอนขนตัวเอง ได้รับแสงแดดเพียงพอในแต่ละวัน

แสง UVB มีผลต่อต่อม Uropygeal ต่อมนี้ตั้งอยู่ในตำแหน่งเหนือโคนหางที่ด้านหลังนก ทำหน้าที่ผลิตไขมันเพื่อช่วยให้ขนนก จะงอยปากนก ผิวนก อยู่ในสภาพดีและรวมถึงยังช่วยทำหน้าที่กันน้ำ (waterproof) ให้ขนนกด้วย โดยในระหว่างที่นกไซ้ขน นกจะนำของเหลวที่มีลักษณะคล้ายน้ำมันที่ผลิดโดยต่อมนี้ไปเคลือบไว้ที่ขนทั่วตัว เมื่อนกได้รับแสงแดด UVB จากธรรมชาติของเหลวที่มีลักษณะคล้ายน้ำมันนี้จะถูกเปลี่ยนเป็นไวตามิน D ซึ่งนกจะกลืนกินเข้าไปในระหว่างการไซ้ขน หลังจากนั้นตับและไตจะทำหน้าที่ปรับเปลี่ยนไวตามิน D นี้ให้เป็น D3 

ผลการ x-ray ของนกจำนวนหนึ่งทำให้สัตวแพทย์ในสหรัฐอเมริกาพบว่า นกที่ได้รับแคลเซียมจากแหล่งอาหารเพียงพอ ยังคงแสดงอาการขาดแคลเซี่ยม ทำให้นกเหล่านี้มีกระดูกร้าวร่วมกับอาการที่แสดงให้เห็นว่านกเป็น โรค Hypocalcemia ที่เกิดจากความผิดปกติของปริมาณแคลเซียมในเลือดสูง โดยผลมาจากการที่ร่างกายไม่สามารถ นำแคลเซี่ยมนี้ไปใช้เนื่องจากการขาดไวตามิน D จากแสงแดดนั่นเอง โรค Hypocalcemia นี้จะแสดงอาการ หัวใจผิดปกติ ไขมันในเส้นเลือดสูง เปลือกไข่นิ่ม กระดูกผิดปกติ อาการทางประสาท อาการเป็นลม และอาการกล้ามเนื้อทำงานผิดปกติ 

จากรูป ด้านซ้ายมือ คือ สีที่นกมองเห็นนกด้วยกัน
ด้านขวา คือ สีที่มนุษย์มองเห็นนก
เรียกการมองเห็นสี ของนกแบบนี้ว่า four-color vision เรียกว่า Tetrachromatic

เครดิต : crazyhawk

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น